เมนู

[49]

เอกพีชีบุคคล

บุคคลชื่อว่า โกลังโกละ เป็นไฉน ?

บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง 3
อันไม่ไปเกิดในอบายเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงจะได้ตรัสรู้ในเบื้องหน้า บุคคล
นั้นเกิดในภพมนุษย์อีกครั้งเดียว แล้วทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า
เอกพีชี.

อรรถกถาเอกพีชีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่งเอกพีชีบุคคล. ชื่อว่า พืช คือ ขันธ์อันพระผู้มี
พระภาคเจ้าตรัสแล้ว ก็พระโสดาบันองค์ใดมีพืช คือ ขันธ์ครั้งเดียวเท่านั้น
คือมีการถือเอาอัตภาพครั้งเดียว พระโสดาบันนั้นชื่อว่า เอกพีชี. ก็คำว่า
"มานุสฺสกํ ภวํ" นี้สักว่าเป็นเทศนาในที่นี้เท่านั้น. แต่จะกล่าวว่า "ยังเทวภพ
ให้เกิด" ดังนี้บ้างก็สมควรเหมือนกัน ก็ชื่อเหล่านั้นเป็นชื่อแห่งพระอริยบุคคล
เหล่านั้น ด้วยสามารถแห่งชื่อที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงถือเอาแล้วนั่นเทียว.
จริงอยู่ พระโสดาบันผู้ไปถึงที่มีประมาณเท่านี้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมบุคคล
ผู้ไปถึงที่มีประมาณเท่านี้ ชื่อว่า โกลังโกลบุคคล ผู้ไปถึงที่มีประมาณเท่านี้
ชื่อว่า เอกพีชีบุคคล ฉะนั้น ชื่อพระโสดาบันเหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงทรงถือเอาแล้ว. แต่ว่า โดยกำหนดแน่นอน (โดยนิยม) คำว่า พระโสดาบัน
รูปนี้เป็น สัตตักขัตตุปรมะ รูปนี้เป็นโกลังโกละ รูปนี้เป็น เอกพีชี ย่อมไม่มี
ถามว่า ก็ใครกำหนดประเภทพระอริยบุคคลเหล่านั้นได้.
วิสัชนาว่า พระเถระบางพวกกล่าวไว้ก่อน ว่า "ปุพฺพเหตุ นิยเมติ"
แปลว่า บุพเหตุ ย่อมกำหนดแน่นอน. บางพวกกล่าวว่า "ปฐมมคฺโค
นยเมติ"
แปลว่า มรรคที่หนึ่ง กำหนดแน่นอน. บางพวกกล่าวว่า "อุปริ-

ตโย มคฺคา นิยเมนฺติ" แปลว่า มรรคเบื้องบน 3 กำหนดแน่นอน. บาง
พวกกล่าว "ติณฺณํ มคฺคานํ วิปสฺสนา นิยเมติ" แปลว่า วิปัสสนาแห่งมรรค
ทั้ง 3 กำหนดแน่นอน.
บรรดาวาทะแห่งพระเถระเหล่านั้น วาทะว่า "ปุพฺพเหตุ "นิยเมติ"
ย่อมหมายความว่า อุปนิสัยแห่งปฐมมรรค ย่อมเป็นคุณชาตอันบุพเหตุกระทำ
แล้ว มรรคเบื้องบน 3 ปราศจากอุปนิสัยเกิดขึ้น ในวาทะว่า "ปฐมมคฺโค
นิยเมติ"
หมายความว่ามรรค 3 เป็นธรรมชาติไร้ประโยชน์. ในวาทะว่า
"อุปริ ตโย มคฺคา นิยเมนฺติ" หมายความว่า เมื่อปฐมมรรคยังไม่เกิดขึ้น
นั่นแหละ มรรคเบื้องบน 3 เกิดขึ้นแล้ว. ก็วาทะว่า "ติณฺณํ มคฺคานํ
วิปสฺสนา นิยเมติ"
ซึ่งแปลว่า วิปัสสนาแห่งมรรคทั้ง 3 กำหนดแน่นอน
ย่อมถูกต้อง. ก็ถ้าวิปัสสนาแห่งมรรคทั้ง 3 มีกำลัง พระโสดาบัน ก็ชื่อว่าเอกพีชี.
ถ้าอ่อนกว่าวิปัสสนาของเอกพีชี ก็ชื่อว่า โกลังโกละ ถ้าอ่อนกว่าวิปัสสนาของ
โกลังโกละนั้น ก็ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะ ด้วยประการฉะนี้.
อนึ่ง พระโสดาบันบางองค์ มีอัชฌาสัยในวัฏฏะ เป็นผู้ยินดีในวัฏฏะ
ย่อมท่องเที่ยวไปในวัฏฏะบ่อย ๆ นั่นเทียว ปรากฏอยู่. ก็ชนเหล่านั้น มีประมาณ
เท่านี้ คือ
1. อนาถบิณฑิกเศรษฐี
2. วิสาขา อุบาสิกา
3. จูลรถเทวบุตร
4. มหารถเทวบุตร
5. อเนกวรรณเทวบุตร
6. ท้าวสักกเทวราช
7. นาคทัตตเทวบุตร.

ทั้งหมดนี้ มีอัธยาศัยในวัฏฏะ เกิดในเทวโลก 6 ชั้น ตั้งแต่ต้น
ชำระจิตให้สะอาดในเทวโลกนั่นแหละ แล้วจึงตั้งอยู่ในอกนิฏฐภพ จึงจักปริ-
นิพพาน ชนเหล่านี้ พระองค์มิได้ทรงถือเอาในที่นี้ ก็ชนเหล่านี้พระองค์มิได้
ทรงถือเอาเท่านั้นก็หาไม่ พระโสดาบันองค์ใด บังเกิดในมนุษยโลกทั้งหลาย
ท่องเที่ยวไปแล้วในมนุษยโลกนั่นแหละสิ้น 7 ครั้ง แล้วจึงบรรลุพระอรหันต์
ก็ดี พระโสดาบันองค์ใดบังเกิดในเทวโลกทั้งหลายท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ใน
เทวโลกนั่นแหละสิ้น 7 ครั้ง แล้วบรรลุพระอรหันต์ ก็ดี พระโสดาบันแม้
เหล่านั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าก็มิได้ทรงถือเอา.
แต่ว่าพึงทราบว่า ในที่นี้พระองค์ทรงถือเอาพระโสดาบัน ที่ชื่อว่า
สัตตักขัตตุปรมะ กับโกลังโกละ ด้วยสามารถแห่งภพอันเจือกัน และ พระ-
โสดาบันผู้บังเกิดในภพของมนุษย์เท่านั้นที่ชื่อว่า เอกพีชี.
ในพระโสดาบันเหล่านั้น องค์หนึ่ง ๆ ย่อมถึงภาวะ 4 อย่าง ด้วย
สามารถแห่งทุกขาปฏิปทา เป็นต้น . ว่าด้วยสัทธธุระ พระโสดาบันมี 12
จำพวก คือ. ชื่อว่าสัตตักขัตตุปรมะ จำพวก ชื่อว่าโกลังโกละ 4 จำพวก
ชื่อว่า เอกพีชี 4 จำพวก. ว่าด้วยปัญญาธุระ ก็ถ้าพระโสดาบันพึงอาจยัง
โลกุตตรธรรมให้เกิดด้วยปัญญา กระทำปัญญาให้เป็นธุระอย่างนี้ว่า เราจักให้
โลกุตตรธรรมเกิดขึ้น แม้บรรลุเป็นพระโสดาบันผู้ชื่อว่า สัตตักขัตตุปรมะเป็น
ต้น ด้วยอำนาจปฏิปทา 4 อย่าง ก็เป็นพระโสดาบัน 12 จำพวก เหมือนกัน
นั่นแหละ ฉะนั้นพระโสดาบันทั้ง 24 จำพวกเหล่านั้น บัณฑิตพึงทราบว่า พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้แล้วในฐานะนี้ ด้วยสามารถแห่งพระอริยะผู้เข้าไปเพ่ง
ธรรมอันตั้งอยู่ ด้วยศรัทธา หรือ ปัญญา ในที่นี้นั่นเทียว.
จบอรรถกถาเอกพีชีบุคคล

[50] สกทาคามีบุคคล บุคคลชื่อว่า สกทาคามี เป็นไฉน ?
บุคคลบางคนในโลกนี้ เพราะความสิ้นไปรอบแห่งสัญโญชน์ทั้ง 3
เพราะทำราคะ โทสะ โมหะให้เบาบางลง เป็นพระสกทาคามี ซึ่งยังจะมาสู่โลก
นี้คราวเดียวเท่านั้นแล้วทำที่สุดทุกข์ได้ บุคคลนี้เรียกว่า สกทาคามี.

อรรถกถาสกทาคามีบุคคล


วินิจฉัยในนิเทศแห่ง สกทาคามีบุคคล. บุคคลใด ย่อมมาอีกครั้ง
เดียวด้วยสามารถแห่งปฏิสนธิ เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นจึงชื่อว่า สกทาคามี แปล
ว่า ผู้มาปฏิสนธิอีกครั้งเดียว.
บทว่า "สกิเทว" ได้แก่ ครั้งหนึ่งเท่านั้น.
บรรดาพระสกทาคามี 5 จำพวก 4 จำพวกพระองค์ไม่ทรงประสงค์
เอา แต่ทรงประสงค์เอาเพียงพวกเดียวเท่านั้นในที่นี้ ด้วยบทว่า "อิมํ โลกํ
อาคนฺตฺวา"
เพราะว่า พระสกทาคามีบางพวกบรรลุสกทาคามิผลในโลกนี้ ย่อม
ปรินิพพานในโลกนี้นั่นแหละ บางพวกบรรลุสกทาคามิผลในโลกนี้ปรินิพพาน
ในเทวโลก บางพวกบรรลุในเทวโลกปรินิพพานในเทวโลกนั่นแหละ บางพวก
บรรลุในเทวโลกแล้วเกิดขึ้นในโลกนี้แล้วจึงปรินิพพาน รวมพระสกทาคามีทั้ง
4 จำพวก ดังกล่าวมานี้ พระองค์มิได้ทรงประสงค์เอา ในสกทาคามีนิสเทสนี้.
แต่พระสกทาคามี พวกใด บรรลุในโลกนี้ แล้วดำรงชีวิตอยู่ใน
เทวโลกตลอดอายุ แล้วก็เกิดขึ้นในโลกนี้อีก จึงปรินิพพาน พระสกทาคามี
พวกเดียวนี้เท่านั้น พึงทราบว่า พระองค์ทรงถือเอาใน สกทาคามีนิทเทส
นี้.
คำใดที่ยังเหลืออยู่ในที่นี้ ข้าพเจ้ายังมิได้กล่าว คำนั้นทั้งหมด ข้าพเจ้า
กล่าวแล้วในโลกุตตรกุศลนิทเทส ในอรรถกถาแห่งธรรมสังคหะในหนหลัง.